top of page
Search

ทำไมเสาเข็ม รับน้ำหนักได้มากกว่าตัวเองหลายเท่า?

เสาเข็มต้นนิดเดียว ทำไมถึงรับน้ำหนักโครงสร้างได้มากกว่าตัวเองหลายเท่า? ทำไมเสาเข็มจึงเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยลดการทรุดตัวของโครงสร้างได้? จำเป็นที่จะต้องมีเสาเข็มด้วยหรอ สำหรับใครที่ยังไม่ค่อยรู้จักเสาเข็ม คลิกอ่านได้ที่นี่เลย

ใครที่รู้จักเสาเข็มอยู่แล้ว ก็คงรู้ดีว่าเสาเข็มถือเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของทุกโครงสร้าง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างบ้าน การต่อเติมอาคาร ติดตั้งเสา ป้าย หรือแม้กระทั่งลานจอดรถ ก็จำเป็นจะต้องมีเสาเข็มเพื่อทำหน้าที่ในการรับน้ำหนักทั้งหมดของทั้งโครงสร้างและสิ่งของต่างๆ ที่วางอยู่บนโครงสร้างด้วย เพื่อถ่ายเทน้ำหนักเหล่านั้นลงสู่ชั้นดินอย่างปลอดภัยตามหลักวิศวกรรม เพื่อยึดโยงโครงสร้างให้สามารถดำรงอยู่ได้โดยไม่ทรุดลงไปเรื่อยๆ วันนี้เข็มเหล็กจึงอยากจะนำเสนอหน้าที่ในการรับน้ำหนักของเสาเข็ม เพื่อคลายข้อสงสัยของหลายๆ ท่านถึงความสำคัญของเสาเข็ม และเหตุผลที่เสาเข็มที่ขนาดไม่ได้ใหญ่มากแต่กลับสามารถรับน้ำหนักของโครงสร้างได้อย่างมหาศาล


เสาเข็มทำหน้าที่ในการรับน้ำหนักของโครงสร้างทั้งหมดโดยอาศัยแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหว่างผิวของเสาเข็มและชั้นดินข้างล่าง หรือที่เรียกกันในวงการงานก่อสร้างว่า "Skin Friction" ซึ่งแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นต้องมากพอที่จะรับน้ำหนักได้ ทำให้เสาเข็มทรุดตัวน้อยลงมากที่สุด เพื่อที่โครงสร้างจะไม่ทรุดตัว นี่จึงเป็นเหตุผลที่เข็มเหล็กทุกต้นต้องมีเกลียว เนื่องจากในแต่ละเกลียวนั้นเมื่อเข็มเหล็กถูกหมุนลงไป เข็มเหล็กจะเบียดดินออกด้านข้างและรัดตัวเสาเข็มให้แน่นขึ้น เรียกได้ว่ายิ่งเข็มเหล็กอยู่ในชั้นดินนานแค่ไหน ดินก็จะแน่นมากขึ้นเป็นทวีคูณ ทำให้เกิด Skin Friction ขึ้นระหว่างเกลียวมากขึ้น ทำให้เพียงพอที่จะรับน้ำหนักของโครงสร้างได้อย่างมหาศาล


หน้าที่ของเสาเข็มในอีกหนึ่งลักษณะ คือ การรับน้ำหนักทั้งหมดของโครงสร้างด้วย End Bearing หรือ เรียกให้เข้าใจง่ายๆว่า การรับน้ำหนักด้วยแรงกด โดยวิธีการนี้เป็นลักษณะการรับน้ำนักของเสาเข็มที่มีความยาวจนถึงชั้นดินแข็ง หรือที่เรียกกันว่า ชั้นดินดาน เพื่อถ่ายเทน้ำหนักมหาศาลของโครงสร้างใหญ่ๆอย่างอาคารสูง หรือ โครงสร้างสะพานขนาดใหญ่ เป็นต้น เช่นเดียวกับ Series D ที่เข็มเหล็กคิดค้นและพัฒนามาเพื่อรองรับโครสร้างที่ใหญ่มากขึ้นจากความสามารถในการรองรับของเข็มเหล็กรุ่นก่อนๆ ด้วยความสามารถในการรองรับน้ำหนักที่มหาศาล ตั้งแต่อาคาร 4 ชั้นลงมา และความยาวที่มากที่สุดถึง 34 เมตร เพื่อให้ปลายเสาเข็มหยั่งถึงชั้นดินดานและเกิด End Bearing อย่างที่กล่าวมาข้างต้น


อย่างไรก็ดี การลงเสาเข็มจำเป็นที่จะต้องมีการควบคุมและคำนวนโดยผู้เชี่ยวชาญ เริ่มตั้งแต่การเจาะสำรวจชั้นดินเพื่อนำไปวิเคราะห์และคำนวนเพื่อเลือกเสาเข็มที่เหมาะกับพื้นดินบริเวณนั้นๆ มากที่สุด ไปจนถึงการคำนวนน้ำหนักของโครงสร้างเพื่อเลือกขนาดการรับน้ำหนักของเสาเข็ม และจำนวนเสาเข็มที่จำเป็นต้องใช้สำหรับโครงสร้างนั้นๆ เหมือนกับที่เข็มเหล็กใส่ใจและทำมาโดยตลอด เพราะที่นี่เรามีทีมงานผู้เชี่ยวชาญ ทั้งวิศวกรในการคำนวนเข็ม และทีมงานติดตั้งผู้มีประสบการณ์ด้านงานฐานรากมามากกว่า 10 ปี เรื่องฐานรากวางใจเข็มเหล็กเถอะครับ


ปรึกษาหรือติดตั้งเสาเข็ม ติดต่อเข็มเหล็กเลย เรายินดีให้คำปรึกษาคุณลูกค้าทุกท่าน

- Chat website KEMREX

- โทร. 02-026-3140

- Facebook : @Kemrexfanpage

- Line@ : @KEMREX


Commentaires


bottom of page